ภาพครอบครัวไชยกอ ริชชี่ อรเณศ บนธนบัตร
เล่าย้อนเรื่องราวประวัติของตนเองว่า เป็นลูกหลาน ของเผ่าลาหู่ หรือที่คนคุ้นกันว่า มูเซอ อาศัยอยู่บนเทือกเขาผ้าห่มปก ตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ คุณยายเป็นชาวลาหู่ เป็นลูกสาวคนโตของปู่หมื่น

ส่วนคุณตาเป็นคนจีนที่มาแต่งงานกับคุณยาย คุณแม่เลยเป็นลูกครึ่งไทย-จีน-ลาหู่ ส่วนนามสกุล “ดี คาบาเลส” เพราะคุณปู่มีเชื้อสายฟิลิปปิน
สเปนในอดีตลาหู่ถือเป็นรัฐกันชนกลุ่มคอมมิวนิวส์ โดยคุณทวด หรือ ปู่หมื่น ทำหน้าที่ปกป้อง จึงได้รับยศจากทางการไทยว่า หมื่น ทำให้ชาวบ้านเรียกว่า
ดอยปู่หมื่นริชชี่ เล่าความประทับใจของชาวลาหู่ ที่สมัยก่อนปลูกฝิ่ นยังไม่ผิดก ฎหมา ย มีการปลูกไร่ฝิ่ นทั้งดอย เพื่อนำเงินมาซื้ออ าวุ ธ
แต่เมื่อในหลวงได้เสด็จมาปี 2513 ท่านได้ให้ความเป็นไทยกับชาวบ้าน พระราชทาน แพะ แกะ ไก่ และผลไม้เมืองหนาวทดลองปลูก
ต่อมาเมื่อปี 2515 พระองค์ทรงพระราชทาน ต้นชาอัสสัมต้นแรก และให้ชาวบ้านเปลี่ยนมาปลูกชาแทน เนื่องจากฝิ่ นได้กลายเป็นของผิดก ฎหมา ยแล้ว
ซึ่งพระองค์ได้ศึกษาวิธีการปลูกและการถ่ายทอดให้ชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านใช้เวลาถึง 20 ปี ในการเปลี่ยนแปลง และกลายเป็นมีอาชีพที่ยั่งยืน
ซึ่ง คุณตา ก็หันมาปลูกชา และได้ติดตามเสด็จไปยังหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อแปลภาษาให้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้ คุณตา ถูกยิ งต า ยจากคนที่เสียประโยชน์ในการเลิกปลูกฝิ่ น
ภายหลังจากคุณตาเสี ยชีวิต คุณแม่และครอบครัวได้รับเสด็จและทูลพระองค์ว่า คุณตาจาฟะ เสี ยแล้ว พระองค์ตรัสว่า
ขอแสดงความเสียใจด้วยนะ จาฟะเป็นคนดี เราอยากให้ลูกหลานทุกคนของจาฟะเป็นคนดีเหมือนจาฟะ อย่าทอดทิ้งชาวบ้าน ให้ดูแลชาวบ้านต่อไป
โดยภาพของครอบครัวในขณะที่ทูลเรื่องดังกล่าวให้ในหลวง ร.9 ทรงรับทราบได้ถูกบันทึกภาพไว้ และต่อมาภาพนี้ได้รับเลือกให้อยู่บนธนบัตรที่ระลึก
เนื่องในโอกาสพรนะราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2554 โดยมีเจ้าหน้าที่แจ้งให้ครอบครัวได้รับทราบเรื่อง ซึ่งถือเป็นเกียรติกับวงศ์ตระกูลอย่างที่สุด